ศาสตร์พระราชา
ตั้งแต่ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ให้แก่คนไทยในปี 2517 เป็นต้นมาเราเข้าใจความหมายของคำนี้แค่ไหน? …หากเรานิยามว่า นี่คือการทำเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะหลังโลกต้องผ่านวิกฤตเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และซ้ำเติมด้วยโรคระบาดโควิด-19 ก็ชัดเจนว่า นี่คือปรัชญาที่ปรับใช้ได้กับผู้คนทุกอาชีพ ทุกยุคสมัย
และเป็นบทพิสูจน์ที่ทั่วโลก ยอมรับให้เป็นพิมพ์เขียวของการพัฒนาอย่างยั่งยืน SEP for SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ที่ให้ความสำคัญกับการ พัฒนาคนไปสู่การสร้างความสมดุล และรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ภายใต้หลักการ 3 ห่วง “พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวเอง” และ 2 เงื่อนไข “ความรู้ และคุณธรรม”
Keyword สำคัญของการให้ความหมายกับ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” คือ การพึ่งพาตัวเองได้อย่างมีเหตุมีผล ประมาณตน และมีภูมิคุ้มกัน
ส่วนคำว่า “ศาสตร์พระราชา” ก็คือ เป็นร่มใหญ่ ของ “เกษตรทฤษฎีใหม่” (ซึ่งมีหลายทฤษฎี)
ขณะที่ “โคก หนอง นา” ก็คือภาคปฏิบัติ ที่ประยุกต์เอาบางทฤษฎีจากศาสตร์พระราชา มาปรับใช้ให้เหมาะกับภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่วัดมงคลชัยพัฒนา จ.สระบุรี คือ จุดกำเนิดเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ตั้งแต่ปี 2536 ปัจจุบันใช้ที่ดินบางส่วนปรับรูปแบบเป็น “โคก หนอง นา โมเดล” และเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับประชาชนที่สนใจ
ตั้งแต่ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ให้แก่คนไทยในปี 2517 เป็นต้นมาเราเข้าใจความหมายของคำนี้แค่ไหน? …หากเรานิยามว่า นี่คือการทำเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะหลังโลกต้องผ่านวิกฤตเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และซ้ำเติมด้วยโรคระบาดโควิด-19 ก็ชัดเจนว่า นี่คือปรัชญาที่ปรับใช้ได้กับผู้คนทุกอาชีพ ทุกยุคสมัย
และเป็นบทพิสูจน์ที่ทั่วโลก ยอมรับให้เป็นพิมพ์เขียวของการพัฒนาอย่างยั่งยืน SEP for SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ที่ให้ความสำคัญกับการ พัฒนาคนไปสู่การสร้างความสมดุล และรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ภายใต้หลักการ 3 ห่วง “พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวเอง” และ 2 เงื่อนไข “ความรู้ และคุณธรรม”
Keyword สำคัญของการให้ความหมายกับ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” คือ การพึ่งพาตัวเองได้อย่างมีเหตุมีผล ประมาณตน และมีภูมิคุ้มกัน
ส่วนคำว่า “ศาสตร์พระราชา” ก็คือ เป็นร่มใหญ่ ของ “เกษตรทฤษฎีใหม่” (ซึ่งมีหลายทฤษฎี)
ขณะที่ “โคก หนอง นา” ก็คือภาคปฏิบัติ ที่ประยุกต์เอาบางทฤษฎีจากศาสตร์พระราชา มาปรับใช้ให้เหมาะกับภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่วัดมงคลชัยพัฒนา จ.สระบุรี คือ จุดกำเนิดเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ตั้งแต่ปี 2536 ปัจจุบันใช้ที่ดินบางส่วนปรับรูปแบบเป็น “โคก หนอง นา โมเดล” และเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับประชาชนที่สนใจ
วัชสุ นราแก้ว และภรรยา คู่รักอดีตพนักงานแบงก์เงินเดือนหลักแสนผันตัวสู่ “เจ้าของฟาร์มเห็ด” ที่มาพร้อมคำถามว่า “อะไรคือความมั่นคงในชีวิต?” และสิ่งที่เขาค้นพบก็คือ ความมั่นคงทางอาหาร และคุณค่าทางใจ
ศาสตร์พระราชาสู่ความยั่งยืน
“เมื่อวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจ ภัยพิบัติมา ศาสตร์พระราชาก็กลับมา พอวิกฤตหมด กระแสเรื่องนี้ก็แผ่วลง…” คำถามใหญ่ คือ จะทำอย่างไรให้เราน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” มาใช้ได้อย่างยั่งยืน ?
คำตอบสำคัญของเรื่องนี้คือ การสร้างองค์ความรู้ก่อน ลงมือทำ สำคัญที่สุด
หน่วยงานรัฐเองก็มีปฏิกริยาตอบรับ อย่างในช่วงโควิด-19 ชัดเจนว่า งบประมาณภายใต้วงเงิน 4 แสนล้านบาท ก็ถูกหยิบมาขยายผลโคกหนองนาโมเดลในหลายจังหวัด และมีแนวทางที่ยั่งยืนด้วย เพราะไม่ได้สักแต่ทุ่มงบลงไปออกแบบโคกหนองนา แต่ใช้หลักการสร้างคน สร้างความรู้ ให้กับคนในพื้นที่นั้น
ที่ชัดที่สุด กรมพัฒนาชุมชน ของกระทรวงมหาดไทย เฟสแรก เลือกพื้นที่ไปทำโคกหนองนา 20,000 กว่าแปลง งบประมาณ 4,000 ล้านบาท ถ้าไปดู 7 ขั้นตอนที่เขาทำเป็นโมเดลเอาไว้ เน้นฝึกอบรมก่อนขั้นแรก ให้คนมีความรู้ แล้วจึงเน้นต่อยอดเป็น OTOP วิสาหกิจชุมชน
และที่น่าสนใจ คือ ใน 20,000 กว่าแปลง มันจะมีอยู่ประมาณ 7,000-8,000 แปลง ที่มีปัญหา เช่น เป็นพื้นที่ทับซ้อนกับอุทยานแห่งชาติหรือไม่ ชาวบ้านทำกินมาก่อน หรือหลังรัฐประกาศ ลักษณะนี้ หน่วยงานรัฐเขาก็จะไปเจรจาให้ เพื่อใช้พื้นที่บางส่วนอาจจะ 10% บูรณาการกับหลายหน่วยงาน เดินหน้าโครงการเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า และส่งเสริมอาชีพ พัฒนาชีวิตให้คนในชุมชน
หากเราจะแก้ปัญหา ก็ต้องส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ที่มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการและติดตามเรื่องนี้
แนวคิดและวิธีการนี้ ยังได้เริ่มฝึกอบรมให้กับผู้ถูกคุมขังในเรือนจำ กรมราชฑัณฑ์ เพื่อให้มีอาชีพหลังพ้นโทษ สะท้อนว่าหลายหน่วยงานของรัฐก็เริ่มเดินหน้าสร้างคน มากกว่าการสร้างโปรเจกต์ แล้วจบเป็นโปรเจกต์มากขึ้น ซึ่งถ้าทำได้ก็จะยิ่งช่วยให้การขยายผลของ “ศาสตร์พระราชา” ยั่งยืน ถูกเข้าใจผิดว่าทำแล้วไม่ได้ผลไม่ใช่ของจริง หรือ กลายเป็นเรื่องของ วาทกรรม
“…เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป…”
พระราชดำรัส ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542
บทส่งท้าย
หัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนา คือ การขาดความสมดุล ระหว่างวงกลม 3 วง คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น การให้คุณค่ากับความเติบโตทางเศรษฐกิจ แข่งขันกันรวย และมีอำนาจ แต่ในทางกลับกันโลกกลับพบความเหลื่อมล้ำ ความมั่งคั่งกระจุกตัวอยู่กับคนเพียงบางกลุ่ม เกิดปัญหาสังคม เกิดปัญหาต่อสุขภาพกายสุขภาพใจ สิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้สอยอย่างไม่เกรงใจ จนกลายเป็นปัญหาความเสื่อมโทรม ขาดแคลนไม่เพียงพอ หลายประเทศเกิดวิกฤต เกิดภัยพิบัติ ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการกระทำที่ไม่คำนึงถึงโลกอนาคตไปพร้อม ๆ กัน
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงกลายเป็นพิมพ์เขียวของการพัฒนาโลกอย่างยั่งยืน หรือที่เรารู้จักกันก็คือ SEP for SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั่วโลก ลงนามตกลงร่วมกันเมื่อปี 2558 และ ตั้งเป้าหมายที่จะทำให้สำเร็จภายในปี 2573 ซึ่งแน่นอนว่าจะบรรลุได้ทุกประเทศจะต้องเริ่มต้นจากการสร้างคน และองค์ความรู้ ให้ประชาชนในประเทศสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างแท้จริง
อ้างอิง : https://theactive.net/read/the-king-s-philosophy-2020/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น